Supporting Organization

กรมโรงงานอุตสาหกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ดูแลโรงงานต่างๆที่เป็นของรัฐ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของโรงงานเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงมาตรฐานแห่งคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนรักษาระดับราคาของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานต่างๆผลิตจำหน่ายแก่ประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เห็นว่ามีความจำเป็นแก่ประเทศชาติ

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.diw.go.th

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ กนอ. ไว้เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้สมบูรณ์แบบด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งระบบบริหารจัดการครบวงจรและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันของผู้ประกอบการ

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.ieat.go.th/th

สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยเกิดจากการรวมตัวของสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน และสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อส่งเสริมและให้บริการด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมแก่ภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://weis.fti.or.th

กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ หน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีบทบาทและภารกิจตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ราชบัญญัติ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในการบังคับใช้มาตรการต่างๆตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.pcd.go.th

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย เป็นความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำของไทยที่มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดำเนินอุตสาหกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.thaicma.or.th

สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยชื่อที่ใช้ครั้งแรกตอนก่อตั้งสมาคมคือ “”Thai Environmental Engineers Association”” ก่อนที่ชื่อนี้จะถูกเปลี่ยนในภายหลังเป็น “”Environmental Engineering Association of Thailand”” ในปี พ.ศ. 2535 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน โดยวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งสมาคม เพื่อใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี สำหรับสมาชิกสมาคมและปกป้องสิทธิในวิชาชีพสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.eeat.or.th/

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 และขับเคลื่อนธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้ง นายวิกรมกรมดิษฐผู้ประกอบการชาวไทย อมตะเติบโตจากบริษัทเล็กๆ ก้าวไกลมาเป็นผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,000 เฮกตาร์ ตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม เพิ่มเติมด้วยโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในสปป.ลาว และพม่า

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.amata.com/th/

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด มหาชน

เอสซีจี กลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 110 ปี มุ่งมั่น พัฒนา และปรับการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักบรรษัทภิบาลที่ดี เอสซีจี ก่อตั้งในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2456 ตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อผลิตปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้างที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและทดแทนการนำเข้า ต่อมาได้ขยายกิจการและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยอมรับในวงกว้างและเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคอาเซียน และในระดับโลก

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : www.scg.com/landing/index.html

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มีบทบาทภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และการบริหารจัดการ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.dla.go.th/

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ แต่เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในชื่อว่า “”กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา”” เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ทำหน้าที่ดูแลการทำเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการตรวจหาแร่และทำเหมืองตลอดทั่วราชอาณาจักร
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกชื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สั้นๆ ว่า “กรมเหมืองแร่”

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.dpim.go.th/

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอย่างบูรณาการ ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการพลังงานว่าเป็นโรงกลั่นที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเครือไทยออยล์ ได้บริหารและพัฒนาโครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างเงินทุน รวมทั้งระบบบริหารจัดการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเครือไทยออยล์ได้มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ด้วยการกำหนดกลยุทธ์องค์กรให้ทุกหน่วยงานมีการขับเคลื่อนไปด้วยกัน

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.thaioilgroup.com/

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบ ภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยตรง ทั้งการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป้าหมายคือ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://actionforclimate.deqp.go.th/

Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB)

มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการจัดงานประชุม นิทรรศการ และกิจกรรมพิเศษ (MICE) ในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดย TCEB มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของโลกในด้านการจัดงาน MICE ผ่านการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ การวางแผนกลยุทธ์ และการประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
เป้าหมายของ TCEB คือการพัฒนาและขยายขีดความสามารถในการจัดงาน MICE เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการจัดงานในภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.tceb.or.th/

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ SMEs มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งในประเทศและในตลาดต่างประเทศ
สสว. ดำเนินการตามนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนทางการเงิน การให้ความรู้และพัฒนาทักษะ การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และการเชื่อมโยง SMEs เข้ากับตลาด เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
เป้าหมายของ สสว. คือการสนับสนุนให้ SMEs เติบโตอย่างยั่งยืน และมีส่วนช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.sme.go.th/

ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Business Development Service หรือ BDS)

มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน โดย BDS มุ่งเน้นการให้บริการแบบครบวงจรในการพัฒนาธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา การจัดอบรมและสัมมนา การพัฒนาทักษะการบริหารธุรกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการตลาด ไปจนถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจ
เป้าหมายของ BDS คือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน รวมถึงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ธุรกิจของไทยมีความพร้อมในการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://bds.sme.go.th/

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) เพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต่อมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514) ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก
“โดยเน้นให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งระดมเงินทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ” พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค เริ่มจาก “ตลาดหุ้นกรุงเทพ” (Bangkok Stock Exchange) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Securities Exchange of Thailand”

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ :
https://www.set.or.th/

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 และขับเคลื่อนธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้ง นายวิกรมกรมดิษฐผู้ประกอบการชาวไทย อมตะเติบโตจากบริษัทเล็กๆ ก้าวไกลมาเป็นผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,000 เฮกตาร์ ตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม เพิ่มเติมด้วยโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในสปป.ลาว และพม่า

เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://www.amata.com/th/